การขอเปลี่ยนนามสกุล ในกรณีที่จดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนหย่า ในฮังการีและประเทศในเขตอาณา
"การเปลี่ยนนามสกุลและคำนำหน้าชื่อ หลังจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่า ในต่างประเทศ สามารถทำได้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบทะเบียนราษฎร์ที่ประเทศไทยแล้วเท่านั้น (ทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย)
โดยผู้ร้องจำเป็นต้องติดต่อที่ว่าการอำเภอฯ หรือเขต ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทั้งนี้ หากไม่ไปดำเนินการด้วยตนเอง สามารถมาขอทำ หนังสือมอบอำนาจ ให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนตนได้"
การนำเอกสารทะเบียนสมรส หรือหย่าฮังการีไปใช้ที่ประเทศไทยในการนี้ จะต้องมีการประทับตรารับรอง (Legalisation) ผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อนนำไปยื่นขอเปลี่ยนนามสกุล / คำนำหน้า ที่ว่าการอำเภอฯ หรือ ที่ว่าการเขตฯ
การรับรองเอกสาร เพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทย แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เอกสารที่ใช้กรณีสมรส โดยคู่สมรสเดินทางไปดำเนินการด้วยกันที่ประเทศไทยทั้งสองฝ่าย
1.1 ใบทะเบียนสมรสตัวจริง ผ่านการรับรองจาก กระทรวงการต่างประเทศของทางการท้องถิ่นที่ทำการจดทะเบียนสมรสให้ และประทับตราสถานเอกอัครราชทูตฯ
1.2 เอกสารแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาอังกฤษ และผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ องทางการท้องถิ่นที่ทำการจดทะเบียนสมรสให้ และประทับตราสถานเอกอัครราชทูตฯ
2. เอกสารที่ใช้กรณีสมรส โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเอง (คู่สมรสไม่ได้เดินทางไปด้วยกัน)
ใช้เอกสาร 1.1 1.2 และ
2.1 สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของคู่สมรสชาวต่างประเทศ
2.2 บันทึกข้อตกลงการใช้นามสกุลที่คู่สมรสลงลายมือยินยอมแล้ว
***เอกสาร 2.1 และ 2.2 จะต้องลงลายมือชื่อของคู่สมรสชาวต่างชาติ ประทับตราจากทนายท้องถิ่น และผ่านการรับรองจาก OFFI โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ประทับตรารับรองในตอนท้าย***
3. เอกสารที่ใช้กรณี สมรส โดยคู่สมรสทั้งสองต้องการ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นดำเนินการแทนตน (ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ไปประเทศไทย)
ใช้เอกสาร 1.1,1.2, 2.1, 2.2 และ หนังสือมอบอำนาจ ซึ่งผู้ร้องต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมนำหนังสือเดินทางไทยตัวจริง และสำเนาหนังสือเดินทางไทยพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ประทับตราจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ประกอบมาด้วย
4. เอกสารที่ใช้กรณี หย่าที่ศาลในประเทศท้องถิ่นของท่าน กรณีเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเอง
4.1 เอกสารหย่าที่ออกโดยศาลท้องถิ่น
4.2 เอกสารแปล 4.1 เป็นภาษาอังกฤษ ผ่านการรับรองกับสถานเอกอัครราชทูตฯ
5. เอกสารที่ใช้กรณี หย่าที่ศาลในประเทศท้องถิ่นของท่าน ขอมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนตน
ใช้เอกสาร 4.1, 4.2 และ หนังสือมอบอำนาจ (ลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ฯ)
โดยให้ระบุในใบมอบอำนาจว่า ขอกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตนเอง เนื่องจากหย่า โดยมีหลักฐานการหย่าดังแนบ
หมายเหตุ
- เฉพาะกรณีทำหนังสือมอบอำนาจ จำเป็นต้องมาลงลายมือต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง นอกนั้นสามารถส่งคำร้องทางไปรษณีย์ได้
- การขอติดต่อเพื่อดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น. ทุกวันทำการ
โปรดตรวจสอบวันหยุดของสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่นี่ เพื่อความสะดวกของท่าน ในการมารับบริการ
ใช้เวลาดำเนินการ 2 - 4 วันทำการ หากประสงค์จะให้ส่งเอกสารกลับทางไปรษณีย์ กรุณาแนบซองจดหมายติดตราไปรษณีย์พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองมากับคำร้องด้วย
- มีค่าธรรมเนียม
ช่องทางการชำระเงิน
Bank: MBH Bank Zrt.
Bank’s seat/address: 1056 Budapest, Váci u. 38. (Hungary)
Beneficiary: Royal Thai Embassy, Budapest
Beneficiary’s address: 1025 Budapest, Verecke út 79. (Hungary)
IBAN: HU57 1030 0002 5011 2201 4882 0017
SWIFT (BIC) code: MKKB HU HB